30.3.12

ข้อมูล ประวัติอำเภอเชียงคาน การท่องเที่ยวของ อ.ชียงคาน จังหวัดเลย

ข้อมูล ประวัติอำเภอเชียงคาน
  เชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เคยเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือราชอาณาจักรลาวมาก่อน เมืองเชียงคานเก่า หรือเมืองสานะคาม (ชนะสงคราม) ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทางยุทธศาสตร์สมัยราชอาณาจักรล้านช้าง ถูกก่อสร้างโดย ขุนคาม โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2250 ทางเวียงจันทร์ได้ตั้งเมืองเชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่าน
    พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ ตีเวียงจันทร์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมา เนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทร์คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทย หลังจากปราบได้สำเร็จแล้ว ก็ไปกวาดต้อนผู้คนมาอยู่เมืองปากน้ำเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปขึ้นกับเมืองพิชัย
   ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก
ครั้นต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคาน หรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง “แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่” ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายที่อยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้ ขอบคุณข้อมูล(บางส่วน)จาก : http://www.amphoe.com/


                                                          



"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"

  เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป
   เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. มีเพียงบ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่มีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยว อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็ยังเป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ยังไม่แพงจนเกินไป คาดเดาว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป..


วัดศรีคุณเมือง อ.เชียงคาน จ.เลย
วัดศรีคุณเมือง
ตั้งอยู่ที่ซอย 7 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ วัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างดังจะเห็นได้จากโบสถ์ ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา ศิลปวัตุที่สำคัญมีหลายชิ้นเช่นพระพุทธรูปไม้จำหลัก ลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง พระพุทธรูปดังกล่าวมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์ไม้แกะสลักลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบาน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม

วัดท่าแขก อ.เชียงคาน จ.เลย
วัดท่าแขก
เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กิโลเมตร ก่อนถึงหมู่บ้านน้อยและแก่งคุดคู้ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์สกัดจากหินทรายทั้งก้อน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ มีอายุประมาณ 300 กว่าปี 

พระพุทธบาทภูควายเงิน อ.เชียงคาน จ.เลย
พระพุทธบาทภูควายเงิน
ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม ตามเส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กม. ถึงหมู่บ้านผาแบ่น มีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กม. จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กม. เป็นรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ประชาชนเคารพนับถือมาก จะมีงานเทศกาล ประจำปีในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ของทุกปี

พระใหญ่ภูคกงิ้ว อ.เชียงคาน จ.เลย
 พระใหญ่ภูคกงิ้ว
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาบริเวณปากลำน้ำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตรตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ. 2542 และในมหามงคลแห่งราชพิธิราชาภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2544 บริเวณโดยรอบสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้
การเดินทาง จากตัวเมืองเลยทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ไป 47 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกตรงไปจนถึงบ้านท่าดีหมี่ แล้วเลี้ยวขวาที่โรงเรียนบ้านท่าดีหมี่ ไปอีกประมาณ 2 กม.

แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย
 แก่งคุดคู้
เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กม. ประกอบด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมากจากการที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ทำให้หินเหล่านี้มีสีสันที่หลากหลาย ตัวแก่ง กว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง ซึ่งกระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน บริเวณแก่ง มีร้านอาหารจำหน่าย มากมาย

อำเภอเชียงคาน, จังหวัดเลย
เชียงคาน เมืองคนงาม ข้าวหลามยาว มะพร้าวแก้ว เพริศแพร้วเกาะแกง แหล่งวัฒนธรรม น้อมนำศูนย์ศิลปาชีพ เชียงคานเป็นอำเภอเล็กๆในจังหวัดเลย เนื่องจากเป็นอำเภอที่ติดชายแดนของประเทศลาวและในสมัยก่อนชาวหลวงพระบางเองก็ได้อพพยมาตั้งรกราก ที่อ.เชียงคานและได้นำวัฒนธรรมเข้ามาด้วย หรือจะเรียกได้ว่าเชียงคานเป็นเมืองคู่แฝดหลวงพระบาง ก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นประเพณี อาหารการกิน ภาษาพูด ก็มีความคล้ายเคียงกัน
อำเภอเชียงคาน มีพื้นที่ ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง มีที่พัก ร้านอาหารและบริการล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งโขง นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกที่ขึ้นชื่อของอำเภอคือผ้านวม มะพร้าวแก้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนไม่ควรพลาดที่จะซื้อเป็นของฝากและยังมีแหล่งท่องเที่ยวให้นักเดินทางได้สัมผัสอีกด้วย มีสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจเช่น แก่งคุดคู้,วัดศรีคุณเมือง,พระพุทธบาทภูควายเงิน,พระใหญ่ภูคกงิ้ว

ประเพณี
1.ผีขนน้ำ เป็นประเพณีศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเดือนหกชาวบ้านบ้านนาซ่าจะรวมตัวกันจัดงานประเพณีผีขนน้ำ เป็นพิธีกรรมเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ "ควาย" สัตว์เลี้ยงที่ให้กำหนดชีวิตผู้คนที่นี่มานานนม โดยชาวบ้านที่นี่ เชื่อกันว่า “ควาย" เป็นสัตว์ที่มีบุญคุณมาก ชาวบ้านบ้านนาซ่าวจึงรวมตัวกันในวันสำคัญทำบุญอุทิศส่วนกุศล ตอบแทนควายที่ให้ชีวิต ให้ความยั่งยืนกับพวกเขา งานจะจัดขึ้นในบริเวณโรงเรียนบ้านนาซ่าว เส้นทาง เลย - เชียงคาน ก่อนเข้า อ.เชียงคานประมาณ 7 กิโลเมตร มีทุกปีช่วงระหว่างวันแรม 1 – 3 ค่ำ เดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคมหลังวันวิสาขบูชา
2.การลอยผาสาดลงน้ำโขงเป็นส่วนหนึ่งในการพิธีสะเดาะเคราะห์ท้องถิ่นแบบดั้ง เดิม ลอยความอัปมงคลออกไปจากชีวิต จะจัดในช่วงเดือน ตุลาคม ของทุกปี


การท่องเที่ยวของ อ.ชียงคาน
จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่หาไม่ได้จากชีวิตเมืองกรุง เชิญสัมผัสบรรยากาศที่ชื่นฉ่ำหัวใจ ได้ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย

ที่พักเชียงคาน เลย

นอนนับดาว ริมโขง เชียงคาน เชียงคานบุรี เลย เชียงคาน แกลอรี่ รีสอร์ท เลย
มุ้ยฟัง เกสท์เฮาส์ เชียงคาน เลย ดิโอลเชียงคาน บูติคโฮเต็ล เลย บ้านชานเคียงที่เชียงคาน เลย
โรงแรมศรีเชียงคาน เลย เถ้าแก่ลาว เชียงคาน เลย เชียงคาน บูติค โฮเต็ล เลย
เชียงคาน เด่อ เลย รีสอร์ท เชียงคานกรีนวิว รีสอร์ท เลย ต้นโขงเกสต์เฮ้าท์ เชียงคาน
โรงแรมบ้านเฮา เชียงคาน เลย มาเลยเด้ เกสเฮ้าส์ เชียงคาน นาวี เฮ้าส์ เชียงคาน เลย
เชียงคาน เฮ้าส์ เลย เมืองละเมอ เชียงคาน เลย โรงแรมเอนกายา 2 เชียงคาน

จองโรงแรม รีสอร์ท เพิ่มเติมที่นี่ Teepaklakroi.tk

No comments: